ถั่วงอกผัดหมูกรอบ - เมนูอร่อยช่วยเพิ่มน้ำหนัก

- 0 comments
วันนี้จะขอเริ่มต้นเมนูอาหารที่ทำด้วยถั่วงอกเมนูแรกสำหรับบล็อคของเราก็คือ ถั่วงอกผัดหมูกรอบ ซึ่งส่วนผสมอาจจะเยอะไปสักนิดแต่ขั้นตอนการทำนั้นไม่ยากเลย แต่ที่แน่่ๆเมนูนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนเป็นแน่เพราะมีเจ้าหมูกรอบเป็นตัวอันตราย ถ้างั้นนานๆก็ทำกินสักทีจะได้ไม่เป็นภาระในการลดความอ้วนนะครับ

ถั่วงอกผัดหมูกรอบ - เมนูอร่อยช่วยเพิ่มน้ำหนัก

ส่วนผสม

  • 1. ถั่วงอกเด็ดหาง 200 กรัม
  • 2. หมูกรอบ 200 กรัม
  • 3. กุยช่าย 50 กรัม
  • 4. พริกชี้ฟ้าแดงหั่นเป็นเส้น 1 เม็ด
  • 5. พริกไทยป่น 1/4 ช้อนชา
  • 6. กระเทียมเจียว 1 ช้อนโต๊ะ
  • 7. น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
  • 8. น้ำซุป 1/4 ถ้วย
  • 9. น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ

 

ขั้นตอนการทำ

  • 1. ล้างถั่วงอกให้สะอาด ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ พักไว้ ล้างกุยช่ายให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆ พักไว้ หั่นหมูกรอบเป็นชิ้นหนาประมาณ 1/2 ซม.
  • 2. ตั้งกระทะใช้ไฟกลางพอร้อน ใส่น้ำมัน ใส่ถั่วงอก กุยช่าย พริกชี้ฟ้าแดง ผัดพอเข้ากัน ใส่น้ำซุป 
  • 3. ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย พริกไทย ผัดอย่างรวดเร็ว โดยผัดไฟแรงๆ ให้ทุกอย่างเข้ากัน ถั่วงอกสุกกรอบ ใส่หมูกรอบ กระเทียมเจียว ผัดให้เข้ากัน ตักใส่จาน เสิร์ฟ
เพื่อนๆสามารถติดตามเมนูถั่วงอกต่างๆได้จากบล็อคเราเลยนะครับ ไว้พบกันใหม่
[Continue reading...]

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกถั่วงอก

- 0 comments
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกถั่วงอก
นอกจากเราจะเอาใจใส่เรื่องเทคนิคการปลูกแล้ว สภาพแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยได้ ทั้งนี้ กระบวนการงอกของเมล็ดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิความชื้น และ ออกซิเจน เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการงอกของเมล็ดมีดังต่อไปนี้

  • 1.ความชื้น เมล็ดจะดูดน้ำเข้าไป เพื่อช่วยในกระบวนการทางชีวเคมี
  • 2.การทำงานของน้ำย่อย ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงอาหารสะสมในพืชและเคลื่อนย้าย อาหารไปยังส่วนที่เจริญ
  • 3.ออกซิเจนจำเป็นสำหรับกระบวนการหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารสำรองเป็นพลังงาน และการดูดอาหารของราก เพื่อการงอกของต้นอ่อน
  • 4.อุณหภูมิที่เหมาะสม ความงอกสูง กระบวนการงอกดำเนินไปตามปกติ ต้นอ่อน สมบูรณ์ อุณหภูมิสูง ความงอกต่ำ รากเจริญเร็วขนาดเล็ก อุณหภูมิต่ำ ความงอกต่ำ รากเจริญช้า
  • 5.แสงไม่จาเป็นสาหรับการงอกของเมล็ด อาจทาให้รากเปลี่ยนเป็นสีเขียว

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ระบบข้อมูลผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
[Continue reading...]

บอกต่อคุณค่าทางโภชนาการต่างๆของถั่วงอกที่ควรรู้

- 0 comments
บอกต่อคุณค่าทางโภชนาการต่างๆของถั่วงอกที่ควรรู้
นอกจากที่เราจะเรียนรู้การเพาะปลูกถั่วงอกแล้ว การรู้จักประโยชน์ต่างๆของถั่วงอกก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันบทความในวันนี้นับว่ามีประโยชน์มากๆครับอย่าลืมติดตาม

ถั่วงอก คือต้นอ่อนระยะเริ่มงอกของเมล็ด ส่วนใหญ่หมายถึงเมล็ดของถั่วเขียวงอก ในปัจจุบันถั่วและเมล็ดงอกที่เพาะขายเป็นการค้ามีอีกหลายชนิด คือ ถั่วงอกหัวโต (หรือถั่วเหลืองงอก) ถั่วงอกจากเมล็ดถั่วลันเตา (โต้วเหมียว) เมล็ดหัวไชเท้า (ไควาเระ) และจากอัลฟัลฟ่าซึ่งมีราคาแพง เป็นต้น

อุดมไปด้วยแร่ธาตุ

ถั่วงอกเป็นแหล่งสารอาหารและวิตามินที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำย่อยซึ่งอยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็ว เมล็ดพืชที่อยู่ในระยะเริ่มงอกนั้นโปรตีนในเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโน ไขมันและแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล วิตามินบีรวม วิตามินอี และวิตามินซีที่อยู่ในรูปสารละลายมีปริมาณเพิ่มขึ้น พบว่าถั่วและเมล็ดงอกทุกชนิดมีวิตามินซีมากกว่าในรูปที่เป็นเมล็ด 3-5 เท่า เทียบเท่ากับมะเขือเทศวิตามินบี 1 มีปริมาณเพิ่มขึ้น 5 เท่า นอกจากนั้นการงอกยังทำให้เกิดวิตามินบี 12 ซึ่งจำเป็นสำหรับการเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ปกติวิตามินบี 12 มักพบในผลิตภัณฑ์สัตว์เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบธาตุเหล็ก และมีสารเลซิติน (lecithin) ซึ่งช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง มีสารต้านความแก่ ที่เรียกว่า ออซินัน (auxinon) ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่แก่เร็ว

ทำความสะอาดก่อนรับประทาน

ถั่วงอกที่มีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและถือว่าเป็นผักสุขภาพเช่นนี้ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้เช่นกัน ทั้งจากสารเคมีที่ใส่ลงไปหรือถ้าระบบการผลิตไม่สะอาด ก็อาจเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น Salmonella และ Escherichia coli ดังนั้นควรล้างด้วยแคลเซียมไฮโปคลอไรต์ หรือใช้น้ำประปาล้างทำความสะอาด 2-3 ครั้ง เก็บรักษาในที่เย็นอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส และการลวกถั่วงอกก่อนบริโภคช่วยป้องกันแบคทีเรียได้

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
pharm.su.ac.th
[Continue reading...]

กินถั่วงอกทุกวันช่วยให้ร่างกายสดชื่นและอ่อนกว่าวัย

- 0 comments
สวัสดีครับเพื่อนๆที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งนี้ วันนี้เราจะขอเสนอข้อมูลที่คุณอาจจะยังไม่ทราบถึงประโยชน์ที่แฝงอยู่ในเจ้าถั่วงอกน้อยๆนี้ ไปติดตามกันเลยครับว่าประโยชน์ที่ผมว่านั้นคือะไรกันแน่

ประโยชน์ของถั่วงอก

ถั่วงอกที่บางคนไม่ชอบกิน และมักเขี่ยออกจากอาหาร หรือไม่เช่นนั้นก็ไม่ใส่ผสมลงไปในเมนูที่กินเลย เพราะกลิ่นที่เฝื่อนฝาดเฉพาะตัว แต่รู้หรือไม่ว่า ถั่วงอกโดยเฉพาะที่ยังสดและปลอดสารจะมีพลังชีวิตที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น และชะลอวัย เนื่องจากมีสารต้านความเสื่อม ชื่อ ออกซินอน อยู่นั่นเอง

นอกจากนี้ ถั่วงอก ที่เพาะมาจากถั่วเขียว ถั่วดำ ยังมีวิตามินและเกลือแร่สูง ขณะที่ถั่วงอกหัวโต ซึ่งเพาะมาจากถั่วเหลือง มีโปรตีนและไขมันสูง อีกทั้งส่งกลิ่นชัดเจน มีเนื้อกระด้างกว่าถั่วงอก

สำหรับเมนูอาหารจากถั่วงอก แนะนำ 'ยำถั่วงอกกุ้งสด' ทำ ไม่ยาก เริ่มจากล้างถั่วงอกให้สะอาด เด็ดหางถั่วงอกออก แต่ถ้าใครไม่ชอบกลิ่นของถั่วงอก อาจนำถั่วงอกที่เด็ดหางแล้วไปแช่ในน้ำเดือดสัก 2 นาที จากนั้นแช่น้ำเย็นต่ออีก 2 นาที และสะเด็ดน้ำพักไว้ หันไปลวกกุ้งแบบพอสุก ต่อด้วยการทำน้ำยำ โดยโขลกพริกไทย พริกชี้ฟ้า พร้อมกับกระเทียมให้แหลก โขลกจนเข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา น้ำมะนาว ใส่พริกขี้หนู สุดท้ายนำน้ำยำ กุ้งลวก และถั่วงอกคลุกเคล้ารวมกันก็เป็นอันเสร็จขั้นตอน ทราบคุณประโยชน์ที่มีอยู่ในถั่วงอกกันแล้ว คราวหน้าจะกินก๋วยเตี๋ยว ผัดไท หรือหอยทอด อย่าลืมกินถั่วงอกด้วยล่ะ แล้วมาอย่าลืมมาติดตามเทคนิคการปลูกถั่วงอกกันได้ในครั้งหน้าครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
biogang.net
[Continue reading...]

แนะนำการเพาะถั่วงอกไร้รากปลอดสารพิษเพื่อเพิ่มรายได้

- 1 comments
แนะนำการเพาะถั่วงอกไร้รากปลอดสารพิษเพื่อเพิ่มรายได้
หลังจากที่เราได้ทราบข้อมูลก่อนเริ่มเพาะปลูกถั่วงอกกันไปแล้ว วันนี้เราขอเสนอการเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ เราแนะนำให้ใช้ถั่วเขียวผิวมันจะนำมาเพาะถั่วงอกได้ผลดีกว่าแบบผิวดำ เพราะถั่วงอกที่ได้จะอวบขาวสวย ต้นไม่ยาวมาก ที่สำคัญจะไม่ใช้สารเคมีกัดถั่วงอกให้ขาว ทำตามธรรมชาติ โดยใช้เวลาเพียง 3 วัน 2 คืน ก็จะได้ถั่วงอกที่ปลอดสารพิษ สามารถนำมาทำอาหารบริโภคได้เลย แต่ถ้าเพาะเกินเวลา 3 วัน ถั่วงอกที่ได้จะยาวและผอม และจะต้องไม่ให้ตะกร้าที่เพาะถั่วงอกถูกแสงแดด และขนย้ายขณะที่เพาะใหม่ๆจะทำให้ถั่วงอกที่เพาะช้ำและเน่า สำหรับในฤดูหนาวอากาศเย็นจัด ต้องเพิ่มเวลามากขึ้นกว่า 3 วัน ในการเพาะโดยสามารถเปิดปากถุงดูว่าถั่วงอกได้ตามขนาดที่ต้องการ ก็ใช้ได้แล้วครับ

ส่วนการเพาะถั่วงอกเพื่อบริโภคในครัวเรือนนั้น เราแนะนำให้เพาะครั้งละ 1/2 กิโลกรัม จะได้ถั่วงอกที่ตัดรากแล้วประมาณ 2 กิโลกรัม โดยยังไม่ได้แช่น้ำล้างเอาเปลือกออก สามารถนำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ในครัวเรือนโดยทดลองทำก่อน ถ้ามีตลาดต้องการก็เพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จุดขายถั่วงอกไร้รากอยู่ตามร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านผัดไทยและร้านอาหาร

แนะนำการเพาะถั่วงอกไร้รากปลอดสารพิษเพื่อเพิ่มรายได้2

วัสดุอุปกรณ์

  1. ถั่วเขียว 1/2 กิโลกรัม
  2. ตะกร้าพลาสติก 1 ใบ ขนาดก้นตะกร้าขนาด 9-12 นิ้ว
  3. ถุงดำอย่างหนา 1 ใบ
  4. ตาข่ายพลาสติก 6 อัน (ตามขนาดของตะกล้า)
  5. กระสอบป่าน 7 อัน (ตามขนาดของตะกล้า) แช่น้ำให้ชุ่ม
  6. ไม้ไผ่ ขนาด 1 นิ้ว ยาวประมาณ 9-12 นิ้ว 3 อัน

ขั้นตอนและวิธีทำ


  1. ถั่วเขียวล้างน้ำให้สะอาด 3 ครั้ง เอาเมล็ดที่ลอยและสิ่งเจือปน ออกให้หมด
  2. ผสมน้ำเดือด 1 ส่วนต่อน้ำเย็น 2 ส่วน นำถั่วเขียวที่ล้างแล้ว ลงแช่น้ำที่ผสมไว้ 8 ชั่วโมง
  3. การเพาะถั่วงอกเริ่มจาก วางกระสอบป่านไว้ก้ตะกล้า ตามด้วยตาข่ายพลาสติก นำถั่วเขียวที่แช่ไว้แล้วโรยบนตาข่าย ประมาณ 2 กำมือ และคลุมด้วยกระสอบป่าน ทำเป็นชั้นๆ จำนวน 6-8 ชิ้น นำตะกร้าวางลงในถุงดำ โดยเอาไม้ไผ่วางบนก้นถุง รดน้ำให้ชุ่มเช้า-เย็น ทั้ง 3 วัน ปิดปากถุงดำไว้
  4. วางไว้ในที่เย็นๆภายในบ้าน ประมาณ 3 วัน 2 คืน จะได้ถั่วงอกที่อวบขาวสวย สะอาดไร้รากปลอดสารพิษ ไว้ประกอบอาหารบริโภคในครัวเรือนทำเพื่อเสริมรายได้ในครัวเรือน
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
[Continue reading...]

ข้อมูลเบื่องต้นที่ควรรู้ก่อนเริ่มเพาะปลูกถั่วงอก

- 0 comments
ถั่วงอกนั้นเป็นเป็นพืชผักสวนครัวคู่ประเทศไทยเรามาช้านาน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ผัดไทย หรือ ก๋วยเตี๋ยว ยิ่งไปกว่านั้นถั่วงอกยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ ยังเป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3-4 วัน ก็สามารถทํารายได้ดีกับผู้เพาะปลูกถั่วงอก แต่ทั้งนี้พบว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จําหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อนจำนวนมาก เพราะผู้ขายต้องการเร่งผลผลิตเพื่อหวังผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพผู้ซื้อ ดังนั้นจึงเป็นการดีกว่าถ้าเราสามารถเพาะปลูกผักปลอดสารพิษกินเองที่บ้านได้เพื่อสุขภาพและยังประหยัดในกระเป๋าอีก หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจจะทำเป็นอาชีพเสริมก็ได้
[Continue reading...]
 
Copyright © . ข้อมูลและเทคนิควิธีการเพาะปลูกถั่วงอก - Posts · Comments
· Powered by Blogger